อาจารย์เคยได้ยินชื่อ Richard Feynman ไหมครับ เขาเป็นนักฟิสิกส์ทางทฤษฎีที่ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1965 ร่วมกับนักฟิสิกส์อีก 2 คน เขาได้รางวัลโนเบลจากการคิดค้้นทฤษฎี Quantum electrodynamics ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ช่วยให้นักฟิสิกส์เข้าใจปรากฏการณ์ในระดับฟิสิกส์อนุภาค [อนุภาคในที่นี้หมายถึงอนุภาคมูลฐานที่เล็กกว่าอะตอมนะครับ]
ก่อนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1988 เขาเขียนหนังสือฟิสิกส์หลายเล่มนะครับ หนึ่งในนั้นก็คือ “The Feynman Lectures on Physics” ซึ่งแ่บ่งเป็น 3 เล่มด้วยกันครับ (I, II, และ III) ในเล่มแรก เขาเขียนไว้ตอนหนึ่งว่า
If … all of scientific knowledge were to be destroyed, and only one sentence passed on to the next generation of creatures, what statement would contain the most information in the fewest words? I believe it is the atomic hypothesis (or the atomic fact, or whatever you wish to call it) that all things are made of atoms—little particles that move around in perpetual motion, attracting each other when they are a little distance apart, but repelling upon being squeezed into one another. In that one sentence, you will see, there is an enormous amount of information about the world, if just a little imagination and thinking are applied. (หน้า 1-2)
ผมแปลให้ออกมาแบบไม่เป็นทางการนะครับ
ถ้า … ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดจะถูกทำลายลง และมีเพียง 1 ประโยคเท่านั้น ที่จะถูกส่งต่อไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป ประโยคอะไรที่จะบรรจุข้อมูลที่มากที่สุดด้วยจำนวนคำที่น้อยที่สุด? ผมเชื่อว่า มันคือสมมติฐานทางอะตอม (หรือข้อเท็จจริงทางอะตอม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่คุณอยากจะเรียกมัน) ที่ว่า สิ่งของทุกอย่างประกอบด้วยอะตอม—อนุภาคเล็กๆ ที่เคลื่อนที่อย่างไม่หยุดหย่อน [โดยไม่มีพลังงานจากภายนอก], ดึงดูดกันเมื่อถูกแยกออกจากกันเล็กน้อย, ผลักกันเมื่อกำลังถูกบีบอัดเข้าหากัน ในประโยคเดียวนี้ คุณจะเห็นข้อมูลจำนวนมหาศาลเกี่ยวกับโลก เพียงแค่ใช้จินตนาการและความคิดเล็กน้อย
ผมไม่ขยายความแล้วนะครับว่า ความเป็นอนุภาคของสสารนั้นสำคัญอย่างไร เพราะ Richard Feynman เขียนไว้อย่างชัดเจนที่สุดแล้ว
แต่ที่ผมจะเพิ่มเติมคือว่า นี่เป็นข้อความที่ถูกอ้างถึงอยู่บ่อยครั้งในงานวิจัยที่ศึกษาและพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับความเป็นอนุภาคของสสาร