การคิดแบบเหมารวมเป็นเรื่องอันตราย

ผมอยากให้อาจารย์อ่านข้อความในหนังสือเรื่อง “Classroom Discourse and the Space of Learning” ดังนี้ครับ

School is an institute with which all citizens in the the industrial world have extensive familiarity … The discussions about school can be heated … “We should have less whole-class teaching,” “We should have more project work,” “We should have more peer learning,” “We should have more problem-based learning,” “By the year 2006, at least 20% of all learning in our school should be information technology (IT) supported,” “Students should have more homework,” “Students should have less homework,” “We should do away with age grouping,” “We should reintroduce age grouping,” … and so on.

โรงเรียนคือสถาบันหนึ่ง ซึ่งพลเมืองทั้งหมดมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี … การอภิปรายเกี่ยวกับโรงเรียน(ในประเด็นต่างๆ)จึงอาจเป็นไปด้วยความดุเดือดและเผ็ดร้อน … (เช่น) “เราควรมีการสอนแบบรวมทั้งชั้นให้น้อยลง” “เราควรมีการทำโครงงานให้มากขึ้น” “เราควรมีการเรียนรู้กับเพื่อนให้มากขึ้น” “เราควรมีการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานให้มากขึ้น” “ภายในปี 2006 20% ของการเรียนรู้ทั้งหมดในโรงเรียนของเราควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)” “นักเรียนควรมีการบ้านมากขึ้น” “นักเรียนควรมีการบ้านน้อยลง” “เราควรล้มเลิกการจัดกลุ่ม(นักเรียน)ตามอายุ” “เราควรริเริ่มการจัดกลุ่ม(นักเรียน)ตามอายุอีกครั้ง” … และ อื่นๆ

All there opinions about what should be done assume … that doing this or doing that is better than doing something else. But if we ask the question, “Better for what?” the answer is likely to be, “Better for learning.” “But for the learning of what?” “For the learning of everything?” These are the questions that must be addressed.

ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ควรทำทั้งหมดนี้เป็นการทึกทักเอาว่า การทำสิ่งนี้หรือการทำสิ่งนั้นดีกว่าการทำสิ่งอื่น แต่ถ้าเราลองตั้งคำถามว่า “ดีกว่าเพื่ออะไร” คำตอบคงเป็นประมาณว่า “ดีกว่าเพื่อการเรียนรู้” “แต่เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรล่ะ” “เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับทุกสิ่งอย่าง” สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่ต้องมีการพูดถึง

The point is that it is highly unlikely that there is any one particular way of arranging for learning that is conductive to all kinds of learning. In order to find effective ways of arranging for learning, researchers need to first address what it is that should be learned in each case, and find the different conditions that are conductive to different kinds of learning.

ประเด็นก็คือว่า มันเป็นไปไม่ได้อย่่างสูงที่ วิธีการจัดการเรียนรู้ใดจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ทุกสิ่งอย่าง ในการหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ นักวิจัยต้องตอบให้ได้ก่อนว่า อะไรคือสิ่งที่(นักเรียน)ควรเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง แล้วจึงหาเงื่อนไขต่างๆ ที่ซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้เรื่องนั้นๆ

ท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายว่า การเรียนการสอนควรเป็นแบบนั้นหรือแบบนี้ ข้อความข้างต้นน่าจะสร้างความตระหนักได้นะครับว่า มันไม่มีแบบไหนดีที่สุด มันขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการเรียนการสอนในแต่ละเรื่อง และการเรียนการสอนเรื่องนั้นๆ อยู่ภายใต้เงื่อนไข บริบท และช่วงเวลาใด การคิดแบบเหมารวม(เอาเอง)ว่า หากการเรียนการสอนเรื่องนี้แบบนี้ดีในสถานการณ์หนึ่ง แล้วมันจะดีในเรื่องอื่นๆ และสถานการณ์อื่นๆ ด้วย เป็นเรื่องที่อันตรายมาก อาจารย์เองก็คงเคยประสบกับความคิดแบบเหมารวมในลักษณะนี้ มันอาจอยู่ในระดับโรงเรียน ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ในระดับภาค หรือในระดับประเทศ

การคิดเป็นเหมารวมมักเกิดขึ้นโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว ดังนั้น เราพึงระวังและต้องใช้สติให้มากครับ

Comments

comments